Skip to Main content
    คุณไม่มีรายการในรายการสินค้าที่ต้องการ

Please select a location and what language you would like to see the website in.

VISIT SITE
เพื่อความยั่งยืน

เพื่อความยั่งยืน

หนึ่งในเป้าหมายของเรา คือ การอนุรักษ์และปกป้องมหาสมุทร และเพื่อสนับสนุนการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตไข่มุกที่สวยงาม เรามุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือเพื่อปรับปรุงพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไข่มุก ในขณะเดียวกันก็ปกป้องรักษาความยั่งยืนของธรรมชาติไปในเวลาเดียวกัน

การสนับสนุนของมิกิโมโต้ที่มอบให้แก่การเพาะเลี้ยงไข่มุก

การสนับสนุนของมิกิโมโต้ที่มอบให้แก่การเพาะเลี้ยงไข่มุก

หลังจากที่การเพาะเลี้ยงไข่มุกครึ่งวงกลมประสบความสำเร็จ มร. โคคิชิ มิกิโมโต้ผู้ก่อตั้งมิกิโมโต้ได้เปิดศูนย์วิจัยที่เกาะทาโทคุในปี ค.ศ. 1902 และได้ทำการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับไข่มุกทรงกลมจนประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงไข่มุกดังกล่าวในอีกสามปีต่อมา ใน ค.ศ. 1930 รัฐบาลญี่ปุ่นได้แต่งตั้งให้ มร. โคคิชิ มิกิโมโต้เป็นหนึ่งในสิบนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ณ เวลาเดียวกันกับที่เขาเปิดบริษัท Pearl Institute Co. Ltd ที่เกาะทาโทคุ สืบเนื่องจากวิสัยทัศน์ของ มร. โคคิชิ มิกิโมโต้ ทำให้ห้องปฏิบัติการวิจัยไข่มุกมิกิโมโต้ในจังหวัดมิเอะจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถาบันวิจัยเต็มรูปแบบในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับไข่มุกที่มิกิโมโต้ได้ทำมาช้านาน หัวข้อการศึกษานั้นมีหลากหลายรูปแบบตั้งแต่การเพาะเลี้ยงไข่มุกไปจนถึงการวิจัยด้านคุณภาพและการสร้างความแตกต่างของไข่มุกแต่ละชนิดตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงไข่มุก
การวิจัยแหล่งที่อยู่อาศัยในการเพาะเลี้ยงหอยมุกอะโกย่าที่มีประวัติอันยาวนานตั้งแต่จุดเริ่มต้นการเพาะเลี้ยงไข่มุก รวมถึงการศึกษาปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีหรือปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของหอยมุกอะโกย่า เรายังคงดำเนินการวิจัยอย่างต่อเนื่องไม่เพียงแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัทของเราแต่ยังรวมถึงการวิจัยอุตสาหกรรมไข่มุกในภาพรวมอีกด้วย

การทำฟาร์มหอยมุกแบบไม่ปล่อยมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม Watch the film

การทำฟาร์มหอยมุกแบบไม่ปล่อยมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

หอยมุกต้องการระบบนิเวศน์ทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์เพื่อมอบสารอาหารและน้ำที่มีคุณภาพในการเติบโต เรากำลังดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อป้องกันการก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนามาตรฐานการทำฟาร์มหอยมุกภายใต้ความรับผิดชอบและใช้วิธีการแก้ปัญหาด้านเทคนิคต่าง ๆ เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและผลิตไข่มุกในลักษณะที่ยั่งยืนในเชิงชีววิทยามากขึ้น ในอดีตนั้น เมื่อเก็บไข่มุก เปลือกหอยและเนื้อหอยจะถูกนำไปทิ้งทั่วบริเวณ เว้นแต่ส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อยึดฝาหอยที่จะถูกนำไปรับประทานเป็นอาหาร ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งจากภายในและภายนอกของเรา เราได้ดำเนินการนำขยะทั้งหมดที่เกิดจากกระบวนการผลิตไข่มุกเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิล
ตัวอย่างเช่น เราได้สกัดสารประกอบที่สำคัญต่างๆ เช่น คอลลาเจนและคอนไคโอลิน ที่เป็นที่รู้จักในชื่อโปรตีนไข่มุก จากขยะอินทรีย์เหล่านี้ และนำไปใช้ในการผลิตเครื่องสำอางค์และอาหารเสริม เปลือกหอยถูกนำไปใช้เพื่อผลิตเครื่องประดับหรือปรับปรุงคุณภาพของดิน เศษที่คงเหลือจากเนื้อของหอยมุกและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เกาะบนหอยมุกถูกนำไปใช้เพื่อทำปุ๋ยหมัก

ระบบการตรวจควบคุมสิ่งแวดล้อมด้านคุณภาพน้ำ Kai-Lingual

ระบบการตรวจควบคุมสิ่งแวดล้อมด้านคุณภาพน้ำ Kai-Lingual

ในปีค.ศ. 2004 ห้องปฏิบัติการวิจัยไข่มุกของมิกิโมโต้ได้ร่วมมือกับบริษัท Tokyo Measuring Instruments Laboratory จำกัด เพื่อพัฒนาระบบการตรวจควบคุมสิ่งแวดล้อมด้านคุณภาพน้ำเชิงอินทรีย์เป็นแห่งแรกของโลก ภายใต้ชื่อ “Kai-Lingual” ระบบนี้จะตรวจจับปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี ภาวะการขาดออกซิเจน หรือความผิดปกติอื่นๆ ของทะเล ด้วยการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของเปลือกหอยแบบเรียลไทม์ เพื่อลดผลกระทบต่างๆ ที่มีต่อการประมงซึ่งรวมทั้งการทำฟาร์มเลี้ยงหอยมุกด้วย คาดกันว่าเทคโนโลยีอัจฉริยะเหล่านี้ที่เราได้พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยลดการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่างๆที่มีต่อหอยนั้น จะสามารถถูกนำไปปรับใช้เพื่อตรวจควบคุมระบบนิเวศชายฝั่งและมหาสมุทร รวมทั้งบริเวณน้ำจืดในประเทศด้วย พวกเราที่มิกิโมโต้ดำเนินการในส่วนของเราเพื่อช่วยดูแลมหาสมุทรซึ่งเป็นสถานที่ที่เราใช้เพื่อเลี้ยงหอยมุกให้เติบโต และสร้างอนาคตที่มนุษย์จะสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติได้อย่างราบรื่น ด้วยการควบคุมพลังแห่งธรรมชาติและเทคโนโลยี

การดำเนินการเพื่อนาคตที่ดีกว่าในการทำฟาร์มเลี้ยงไข่มุก

การดำเนินการเพื่อนาคตที่ดีกว่าในการทำฟาร์มเลี้ยงไข่มุก

ในปี 2000 หอยมุกอะโกย่า (Pinctada fucata) ที่เป็นสายพันธุ์จากธรรมชาติพื้นเมืองถูกค้นพบที่เกาะอะอิโนะชิมะ ซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในจังหวัดฟุคุโอกะและอยู่ในทะเลเก็นไค ด้วยความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยคิวชู จังหวัดฟุคุโอกะ และเมืองชินกุมาชิ มิกิโมโต้ได้จัดตั้งการทำประมงในทะเลเป็นครั้งแรกเพื่อหาหอยมุกอะโกย่าตามธรรมชาติในประเทศญี่ปุ่น นับตั้งแต่นั้นมา เราได้ดำเนินการเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูถิ่นอาศัยของหอยมุกตามธรรมชาติ และเพิ่มจำนวนประชากรหอยมุก ในขณะเดียวกันก็ยกระดับคุณภาพที่ดีของสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาและปรับใช้วิธีการที่ไม่ปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมทำฟาร์มเลี้ยงหอยมุกในปัจจุบัน ไข่มุกอะโกย่าที่ผลิตในอะอิโนะชิมะตามปกติจะมีขนาดใหญ่และมีชั้นไข่มุกที่หนา ซึ่งจะปรากฎผิวที่เรียบและเงางาม เรามุ่งมั่นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเพาะเลี้ยงไข่มุกที่สวยงามจนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนรุ่นต่อไปในอนาคตด้วยการผลิตไข่มุกอะโกย่าอันเป็นตัวแทนแห่งอนาคตที่สดใสของไข่มุกเลี้ยง

การใช้วัสดุที่ยั่งยืนสำหรับสร้อยคอไข่มุก

ในปี 2023 สร้อยคอไข่มุกของเราได้เปลี่ยนจากการใช้เส้นไหมเป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์แบบรีไซเคิล100% ที่ได้จากขวด PET ที่ใช้แล้ว (ยกเว้นเครื่องประดับบางประเภท เช่น สร้อยคอคอลเลคชั่นพิเศษ) ในฐานะผู้ให้กำเนิดไข่มุกเลี้ยง นี่เป็นหนึ่งในการริเริ่มของมิกิโมโต้ที่มุ่งไปสู่การอยู่ร่วมกันกับมหาสมุทรที่หล่อเลี้ยงไข่มุกและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติในอนาคต

การริเริ่มเพิ่มเติม

ความร่วมมือกับสถาบันค้นคว้าและวิจัยเพื่อลด CO2

จากความสำเร็จในการทำให้โครงสร้างไข่มุกชัดเจน (กระบวนการเปลี่ยนเป็นแร่ธาตุด้วยวิธีทางชีวภาพ) University of Tokyo Graduate School of Agricultural and Life Sciences และ Kitasato University School of Marine Biosciences ได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คงสภาพเดิมอยู่ในชั้นบรรยากาศโดยใช้แคลเซียมที่พบในน้ำทะเล (กระบวนการทำให้เป็นแร่คาร์บอน) อย่างต่อเนื่อง กลุ่มมิกิโมโต้ (ประกอบด้วยมิกิโมโต้ เครื่องสำอางมิกิโมโต้ และเกาะไข่มุกมิกิโมโต้) ร่วมมือกับสถาบันค้นคว้าและวิจัยเพื่อลด CO2 ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมโลกของเรา

การฟื้นฟูข้อมูลจีโนมหอยมุกอะโกย่าขึ้นใหม่

จากการวิจัยร่วมกันของสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโอกินาวา ห้องปฏิบัติการวิจัยไข่มุกมิกิโมโต้และสถาบันเทคโนโลยีการประมงของสถาบันวิจัยและการศึกษาการประมงแห่งประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลจีโนมโครโมโซมแต่ละตัวของหอยมุกอะโกย่าถูกสร้างขึ้นใหม่โดยมีความแม่นยำในระดับสูง จากการปรับปรุงหอยมุกอะโกย่าให้มีความสามารถในการต้านทานต่อโรคด้วยการใช้ข้อมูลจีโนมนี้ เราหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนด้านการเพาะเลี้ยงไข่มุกต่อไป